คุณกำลังหาผู้ช่วยเอกสารและภาษีอยู่หรือเปล่า
คุณกำลังหาผู้ช่วยเอกสารและภาษีอยู่หรือเปล่า ให้เรื่องบัญชีเป็นเรื่องง่าย จัดการครบตอบโจทย์ทุกธุรกิจ พร้อมให้คำปรึกษา งบล่าช้า งบย้อนหลัง ได้รับจดหมายจาก DBD ไม่ได้นำส่งงบการเงิน ปิดงบเปล่า งบยังไม่ได้ดำเนินกิจการ พร้อมตรวจสอบบัญชีบริการจัดทำแบบภาษีและนำส่งสรรพากรและประกันสังคมรายเดือน พร้อมบริการยื่นชำระภาษี – จัดทำและยื่นแบบภาษีธุรกิจประจำเดือน ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40)- จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้เงินเดือนและค่าแรง หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)- จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.3)- จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.53)- จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย- จัดทำและยื่นแบบประกันสังคม (สปส.1-10)สนใจบริการทำบัญชีแบบมืออาชีพ ติดต่อเรา
หนีภาษี อันตรายกว่าที่คิด
หนีภาษีอันตรายกว่าที่คิด ความเสียหายจากการ หนีภาษี 3 กรณี ก่อนสรรพากรฟ้องศาลถ้าถูกสรรพากรตรวจพบต้องเสียเงินเพิ่มให้สรรพากรในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน และอาจโดนเบี้ยปรับ 1 -2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระอีกด้วยถ้า ไม่ยอมชำระภาษี กรมสรรพากรก็ยังสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลย โดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้สรรพากรฟ้องศาลถ้าผู้ค้างภาษีอากรยังดื้อไม่ยอมชําระหนี้ภาษีอากรค้าง สรรพากรก็สามารถนําคดีมาฟ้องต่อศาลต่อไปได้ เช่น ฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลาง สำหรับกรณีสรรพากรเลือกฟ้องเพราะไม่สามารถเร่งรัดเรียกหนี้ภาษีอากรค้างได้แล้วฟ้องที่ศาลเดียวกับลูกหนี้ถูกฟ้อง เกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายทอดตลาด เช่น ศาลแพ่ง ศาลจังหวัด ฯลฯ โดยสรรพากรสามารถเข้าไปขอเฉลี่ยหนี้ได้ ฟ้องที่ศาลล้มละลายกลาง กรณีหนี้เข้าหลักเกณฑ์ฟ้องได้ (กฎหมายล้มละลายกำหนดเงื่อนไขการฟ้องล้มละลายได้ คือ-กรณีเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท-นิติบุคคลเป็นเจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคําพิพากษา ให้สรรพากรชนะคดีแล้ว สรรพากร ก็สามารถบังคับคดีได้ตามกฎหมายได้อีก เป็นระยะเวลา 10 ปี และหากในระหว่างนั้น ยังไม่ได้รับชําระภาษีอากรครบถ้วน และยังเข้าหลักเกณฑ์ที่จะฟ้องล้มละลายได้ กรมสรรพากรก็ยังสามารถนําหนี้ภาษีอากรนั้น มาฟ้องยังศาลล้มละลายกลางได้อีกครั้งหนึ่งหากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย ติดต่อเรา
ยื่นภาษี ต่างจากเสียภาษี
ยื่นภาษี ต่างจากเสียภาษี ถึงเราไม่เสียภาษี แต่ต้องยื่นภาษีนะรู้ยัง ? การยื่นภาษี ต้องยื่นเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด เสียภาษี เมื่อเงินได้คำนวนได้มากกว่า 150,000 บาท 1.ผู้ที่เป็นโสด เกิน 60,000 2.ผู้ที่มีคู่สมรส ที่มีเงินได้ฝ่ายเดียว หรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 120,000 3.กองมรดกที่ยังมิได้แบ่งเกิน 60,000 ผู้จัดการมรดก/ทายาท/ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก 4.ห้างหุ้นส่วนสามัญ เกิน 60,000 ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการของห้างหุ้นส่วนสามัญ 5.คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เกิน 60,000 ผู้จัดการของคณะบุคคล D-Accounting Service พร้อมช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ปรึกษา และอื่นๆ สนใจบริการทำบัญชีแบบมืออาชีพ ติดต่อเรา